Karn Tirasoontorn

May 22, 2021

ทำความรู้จักกับ MatataBot

ต้องยอมรับว่าการเรียนรู้ในยุค New Normal ทำให้เด็กๆ ต้องหันมาเพิ่งการเรียนรู้แบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งนั้นหมายความว่าเด็กๆ จะต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งก็จะมีหลากหลาย guidelines ที่เราสามารถนำมาใช้กับเด็กๆ ได้ โดยขึ้นอยู่กับพิจารณาของผู้ปกครอง และความเหมาะสม

สำหรับการเขียนโค้ดเป็นอีกกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) และผู้ปกครองอาจจะเข้าใจว่าการเรียนเขียนโค้ดจะใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตที่มีหน้าจอเพียงอย่างเดียว อันที่จริงแล้วเราสามารถส่งเสริมเด็กๆ ให้เรียนเขียนโค้ดผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่หน้าจอ หรือที่เรียกว่าการเขียนโค้ดแบบ Unplugged (Unplugged Coding) ได้อีกด้วย
Matatalab Robot (หรือจะเรียก MatataBot) เป็นหุ่นยนต์ที่เราได้นำมาใช้สอนการเขียนโค้ดให้กับเด็กๆ เนื่องด้วยลักษณะการเขียนโค้ดสามารถทำได้ทั้งแบบใช้หน้าจอ (Plugged) และไม่ใช้หน้าจอ (Unplugged) ทำให้ตัวมันเองสามารถนำไปใช้สอนเด็กได้หลายช่วงอายุตามความเหมาะสม โดยในชุดของการเรียนรู้หลักๆ จะประกอบด้วย

  • MatataBot เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็ก ที่ใช้ล้อ 2 ล้อในการขับเคลื่อนได้อย่างอิสระ 360 องศา ที่ดวงตาสามารถส่องแสงได้ บริเวณด้านเป็นโดมสีส้มที่มีตุ๊กตาอยู่ภายใน โดยเราสามารถถอดโดมออกจากส่วนล่างได้ และสามารถนำตุ๊กตา LEGO อื่นๆ มาเสียบแทนได้
  • Control Board + Command Tower เปรียบเสมือนหอบังคับการ โดยตัวบอร์ดจะเป็นพื้นที่ให้เรากำหนดคำสั่งที่จะส่งให้กับหุ่นยนต์ และทันทีที่กดปุ่มเริ่มต้น ทางด้านหอบังคับการจะอ่านคำสั่งจากบอร์ดด้วยเทคโนโลยี Image Recognition และส่งไปยังหุ่นยนต์ผ่าน Bluetooth


  • Coding Blocks เป็นชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับควบคุมหุ่นยนต์ ซึ่งจะมีด้วยกันหลายประเภทด้วยกัน คือ
    • เคลื่อนไหว (Motion)
    • ตัวเลข (Number)
    • เสียงเพลง (Music)
    • สังสรรค์ (Fun)
    • วนซ้ำ (Loop)
    • องศา (Angle)
  • Flag
  • Obstacles
  • Maps
สำหรับบทเรียน และกิจกรรมที่เด็กจะได้รับในการเรียนเขียนโค้ดก็จะมีดังนี้ 
  • เรียนรู้การจัดการกับปัญหา
  •  ฝึกการวิเคราะห์ปัญหา
  •  ช่วยให้คิดเป็นระบบ
  •  เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง
  •  มีความคิดสร้างสรรค์
  •  มีทักษะคิดเชิงคำนวณ

ภาพกิจกรรมที่เราได้สอนเด็กๆ
References: